รายการ ACT Now

ACT Now EP.15

โดย ACT โพสเมื่อ Mar 29,2021

 ACT Now EP 15 คุ้มเข้ม BlackList บัญชีดำผู้รับเหมาเบี้ยวงาน
แน่ๆ เลย มีประเด็นหนึ่งที่ผมต้องพูดวันนี้ ให้ท่านผู้ชมผู้ฟังได้รับทราบ มีข่าวมีข้อมูลออกมาชัดเจนให้เราเห็น เป็นกรณีเรื่องสำคัญเลยนะครับ วันนี้ขอพูดเรื่องจัดซื้อจัดจ้างในภาครัฐ การใช้เงินหลวงก็คือการที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดปัตตานี ไปบอกเลิกสัญญาเอกชนรายหนึ่งที่ทำงานไม่สำเร็จ ทำงานแล้วทิ้งงาน ก็ตามกฎหมายแล้วคนที่ทำให้รัฐเสียหายจะต้องโดนยื่นเรื่องให้เป็นผู้ทิ้งงานอีกข่าวหนึ่ง เรื่องไม้ล้างป่าช้า GT200, Alpha 6 ที่ประเทศไทยสูญเสียเงินเสียเปล่าไปประมาณ 1,100 ล้านบาท แต่ท่านทราบไหมว่ามีอยู่คดีหนึ่ง ที่กองบัญชาการกองทัพไทยฟ้องศาลแล้วชนะคดี ศาลตัดสินว่าเรื่องนี้เอกชนร่วมกันฉ้อโกง ในที่สุดเอกชนแพ้ จ่ายค่าเสียหายแล้วก็ชดใช้เงินไป จ่ายค่าปรับให้กับหลวง แต่ปรากฏว่าไม่ยื่นเรื่องให้เอกชนรายนี้เป็นผู้ทิ้งงานตามพรบ. จัดซื้อจัดจ้าง เขามีมาตรการเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของรัฐของหน่วยงานด้วยกัน เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่ได้รับความเสียหายจะต้องยื่นเรื่องไปที่กระทรวงการคลังให้สั่งบริษัทนี้หรือเอกชนรายนี้ พ่อค้าคนนี้ เป็นผู้ทิ้งงานผลที่ตามมาก็คือว่าคนเหล่านี้จะถูกตัดสิทธิ์ไม่สามารถมาค้าขาย ไปยื่นเรื่องประมูลงานกับหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ทั่วประเทศได้อีกเลย ตามกฎหมายใหม่ ถ้าเขาไปมีหุ้นในบริษัทอื่นๆ บริษัทเหล่านั้นที่เขาไปถือหุ้นก็จะถูกตัดสิทธิ์ ไม่ให้มาค้าขายกับรัฐได้ด้วย เห็นไหมครับ บทลงโทษที่พวกพ่อค้าเหล่านี้ต้องโดนลงโทษรุนแรงมากกว่าก่อนเพราะฉะนั้นวันนี้เขาต้องดิ้นรนสู้ตาย ถ้าปล่อยให้เอกชนรายใดก็ตามมองเรื่องนี้เป็นตัวอย่างว่าประมูลให้ได้ไปก่อนถึงเวลาทำไม่สำเร็จก็ช่างมัน แล้วไปพูดดีๆ ทำดีๆ ยอมเสียค่าปรับ ถ้าเรายอมอย่างนี้ งานของรัฐจะมีปัญหาอย่างมาก เชื่อเถอะครับ เราเจอวันนี้แค่ 2 หน่วยงานใหญ่ ยังมีหน่วยงานอีกจำนวนมากที่มีพฤติกรรมแบบนี้



ACT Now EP 15.1 ชี้เป้า 'ฮั้วประมูลขบวนการทุจริต' จ่ายค่าขนม 60 ล้าน
ค่าขนมหรือเงินค่าสินบนเหล่านี้ยังมีอยู่ คุณผู้หญิงที่เป็นเจ้าของบริษัทรับเหมาก่อสร้างแห่งนี้ เธอได้รับการติดต่อจากกรม กรมหนึ่งในกระทรวงมหาดไท ให้ทำโครงการถนนยางพารามูลค่าทั้งหมด 400 ล้านบาท แต่ว่าต้องมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะกัน 60 ล้านบาท คิดเป็น 15% ของมูลค่าก่อสร้างของงบประมาณ การโอนเงินทางบัญชี มีทั้งการหิ้วเงินสดไป ให้กับเจ้าหน้าที่ ให้กับคนที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานพื้นที่ จ่ายเงินใต้โต๊ะอีกด้านหนึ่งก็คือเรื่องของการฮั้วประมูล มีข้อมูลจากกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างบอกว่าถ้าเป็นโครงการที่เกี่ยวกับในต่างจังหวัด ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร้อยละ 70 มีการโกง มีสินบนและต้องมีเรื่องของการฮั้วประมูล
ฮั้วอย่างไรได้บ้าง ในเรื่องการฮั้วประมูลมีใครบ้างที่เกี่ยวข้อง
1 ก็คือคนที่จัดฮั้วประมูลก่อน
อันนี้ก็คือคนที่เป็นเอกชน เป็นพ่อค้าธรรมดา คนนี้จะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน ตามข้อมูลปรากฏว่าในปัจจุบัน คนประสานงานหรือเป็นคนจัดฮั้วประมูล บางครั้งเขามีเส้นสายจริงๆ
อันที่ 2 ก็คือว่าคนที่อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรมนั้นๆ โดยตรง
ก็คือถ้าเป็นคนที่รับเหมาก่อสร้างนี้แหละ คนที่ทำถนนก็คือบริษัทรับเหมาก่อสร้างแต่เขาจะรู้กันว่าโครงการที่ 1 โครงการที่ 2, 3 มีงบเท่าไรๆ เขาจะแบ่งกัน วงเงินเท่าไร โครงการที่ 2 ให้ใครได้ โครงการที่ 3 ใครได้ วิธีฮั้วแบบนี้มีตั้งแต่การฮั้วในพื้นที่โครงการเล็กๆ ไปจนถึงเมกะโปรเจคระดับประเทศเขาก็ทำกันอย่างนี้ กลุ่มที่
3 การฮั้วโดยคนในหน่วยงาน
ที่เป็นเจ้าของโครงการจัดซื้อจัดจ้างนั้นๆ กลุ่มที่ 4 คนในกรมบัญชีกลางและเอกชนผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ ทางกรมบัญชีกลางมีมาตรการที่รัดกุมแล้วก็ระบบ IT ของเขามีความเข้มงวดมากขึ้นเพราะฉะนั้นตรงนี้ วันนี้ไม่น่าจะมี แต่อดีตและอนาคตเป็นเรื่องที่เราต้องติดตามกัน
กลุ่มที่ 5 เรื่องของข้อมูลรั่วหรือการถูกเจาะระบบโดยแฮคเกอร์
ถามว่ากรมไหนที่มีงบประมาณในการก่อสร้างจำนวนมากๆ ตามข้อมูลของเว็บไซต์ภาษีไปไหนระบุไว้ชัดเจนว่า
อันดับ 1 กรมทางหลวง
อันดับ 2 กรมชลประทาน
อันดับ 3 กรมโยธาธิการ
อันดับ 4 กรมทางหลวงชนบท
อันดับ 5 กรมทรัพยากรน้ำ
ผมเคยเรียนให้ทุกท่านทราบเกี่ยวกับ ACT Ai ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มรวบรวมข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐทั้งหมด มีใครบริษัทไหนชนะการประมูลและในการประมูลครั้งนั้นๆ มีบริษัทไหนเป็นบริษัทคู่เทียบบ้าง ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือที่เราจะมาทำงานร่วมกัน เราจะมาเป็นนักสืบไซเบอร์ไล่จับคนโกงด้วยกัน



ACT Now EP 15.2 ต้านคอร์รัปชัน ผลักดันกฎหมายป้องกันการฟ้องปิดปาก Anti SLAPP law
มีคำๆ หนึ่งที่ผมจะต้องเอามาเล่าให้ท่านผู้ชมผู้ฟังได้รู้จัก คำๆ นั้นก็คือว่า Anti-SLAPP law ชื่อเต็มก็คือ Strategic Lawsuits Against Public Participation. พูดเป็นภาษาไทยก็คือว่ากฎหมายป้องกันการฟ้องปิดปาก เราเห็นกันอยู่นะครับ ว่าเมื่อใดก็ตามที่เราพูดเรื่องคอร์รัปชัน คนที่เกี่ยวข้อง คนที่มีอำนาจเขาก็จะถามว่าคุณมีใบเสร็จไหม ถ้าคุณหาใบเสร็จไม่ได้ เขาก็จะมาฟ้องร้องคนที่พูด ว่าพูดความเท็จ ให้ร้าย หมิ่นประมาท นำข้อความเท็จเข้าสู่คอมพิวเตอร์ เรื่องการเอาเปรียบผู้บริโภค เรื่องเกี่ยวกับปัญหามลพิษ เรื่องเหมืองแร่ ทุกปัญหาที่คนพูดมานี้ เอกชนที่เกี่ยวข้องหรือเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง เขาจะใช้วิธีง่ายๆ ที่ต้นทุนต่ำมากเลยก็คือไปฟ้องดำเนินคดีกับคนที่พูด การฟ้องคดีอาญาแบบนี้ต้นทุนพวกเขาต่ำมาก แต่ทำให้ภาคประชาชน ให้คนที่ได้รับความเดือดร้อนหรือคนที่ไปรู้เห็นข้อมูลมาต้องตกที่นั่งลำบาก เหตุนี้ทำให้คนไทยส่วนใหญ่กลัว ไม่กล้าและไม่อยากยุ่งที่จะพูดเรื่องคอร์รัปชัน
ในต่างประเทศเขาจะมีเรื่อง Anti-SLAPP law ขึ้นมาก็คือว่าถ้าประชาชนพูดโดยความบริสุทธิ์ใจ ในเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาสาธารณะ ในเรื่องที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน ในเรื่องที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของประเทศชาติ เช่นเรื่องคอร์รัปชัน จะมาฟ้องร้องหาเรื่องทางอาญากับผู้พูดง่ายๆ ไม่ได้ โครงการที่ถูกพาดพิงจะต้องหยุดดำเนินการ คนที่มาฟ้องร้องคดีอาญาหาเรื่องกล่าวหาประชาชน ต้องเอาพยานหลักฐานข้อมูลทั้งหมดมาชี้แจงต่อศาลให้ได้ว่าสิ่งที่เขาฟ้องร้องเป็นความจริง สิ่งที่ผมพูดไม่ถูกต้อง ไม่ใช่เรื่องผลประโยชน์ของประชาชน นั่นก็คือว่าภาระในการพิสูจน์คดีทั้งหมดจะอยู่ที่เขา Anti-SLAPP law จึงเป็นกฎหมายปกป้องประชาชน ไม่ให้ถูกรังแกเมื่อเขาพูดในเรื่องผลประโยชน์ของบ้านเมืองและผลประโยชน์ของประชาชน